การลงทุนความเสี่ยงสูง VS ลงทุนความเสี่ยงต่ำ 2566 เลือกลงทุนอะไรดี

June 26, 2023 0 Comments

การลงทุนคือการสร้างความมั่นคงทางการเงินอย่างหนึ่ง เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อเป็นปัจจัยที่ทำให้เงินของเรามีกำลังซื้อน้อยลงเรื่อย ๆ เมื่อเวลาผ่านไป นอกจากการฝากเงินในระยะยาวเพื่อเพิ่มดอกเบี้ยแล้ว สิ่งหนึ่งที่จะเอาชนะเงินเฟ้อได้คือการลงทุนนั่นเอง แต่การลงทุนก็มีหลายรูปแบบ และทุกรูปแบบก็มีความเสี่ยงอยู่เสมอ ซึ่งการลงทุนให้ได้ผลตอบแทนตามเป้าหมาย จำเป็นต้องอาศัยความรู้และความเข้าใจระดับความเสี่ยงของการลงทุน โดยสำหรับผู้เริ่มต้นหรือผู้มีประสบการณ์น้อย ขอแนะนำให้เริ่มที่การลงทุนความเสี่ยงต่ำ 2566 ก่อน เมื่อชำนาญและเข้าใจมากขึ้นแล้ว จึงค่อยเริ่มต้นลงทุนในระดับความเสี่ยงระดับสูงขึ้น เพื่อปรับพอร์ตให้มีโอกาสรับผลกำไรเพิ่มขึ้นได้

4 ปัจจัยที่ทำให้ลงทุนความเสี่ยงต่ำ 2566 แตกต่างกับรูปแบบความเสี่ยงสูง

เมื่อสนใจศึกษานโยบายของการลงทุนที่มีความเสี่ยงแตกต่างกัน ก่อนอื่นควรเริ่มต้นทำความเข้าใจว่า มีปัจจัยใดที่ส่งผลให้การลงทุนรูปแบบต่าง ๆ มีความเสี่ยงต่างกันบ้าง ซึ่งปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้เป็นสิ่งที่ทุกคนควรทำความเข้าใจเพื่อให้เกิดความรู้พื้นฐานทางการเงิน แม้ไม่ใช่ผู้ที่เริ่มต้นลงทุนความเสี่ยงต่ำ 2566 ก็ตาม เพราะยิ่งเพิ่มการลงทุน ก็ยิ่งต้องติดตามความรู้และความเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับปัจจัยเหล่านี้ให้มากขึ้น

  1. ความผันผวนของตลาด 

ความผันผวนของตลาดส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงด้านราคาของสินทรัพย์ต่าง ๆ ได้ตลอดเวลา ความเปลี่ยนแปลงนี้ขึ้นอยู่กับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม ธุรกิจแต่ละประเภทที่เราจะเข้าไปลงทุน ก็มีนโยบายการดำเนินธุรกิจที่ต้องคำนึงถึงความไม่แน่นอน ยิ่งเป็นธุรกิจประเภทที่มีความเสี่ยงสูง อย่างธุรกิจน้ำมัน อสังหาริมทรัพย์ สินค้าอุปโภคบริโภค ยิ่งทำให้มีความเสี่ยงสูงขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบเชื่อมโยงกัน หากเศรษฐกิจฝืดเคืองก็อาจทำให้ราคาสินทรัพย์ต่าง ๆ ลดลงได้

  1. อัตราดอกเบี้ยและอัตราเงินเฟ้อ

อัตราดอกเบี้ยและอัตราเงินเฟ้อเป็นสิ่งที่มีกลไกควบคู่กัน ขึ้นอยู่กับนโยบายทางการเงินที่ส่งผลต่อสภาพเศรษฐกิจ อัตราดอกเบี้ยและอัตราเงินเฟ้อยังส่งผลโดยตรงต่อราคาของสินทรัพย์ หากอัตราดอกเบี้ยปรับสูงขึ้นก็จะส่งผลให้ราคาสินทรัพย์สูงขึ้น ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อก็เป็นสิ่งที่ทำให้ค่าเงินลดลงเมื่อถือไว้เฉย ๆ โดยไม่มีการลงทุน ธุรกิจแต่ละประเภทก็จะได้รับผลกระทบทำให้ราคาขึ้นลงแตกต่างกัน นักลงทุนจึงต้องปรับตัวตามกลไกของปัจจัยทั้ง 2 นี้อยู่เสมอ

  1. สภาพคล่องของสินทรัพย์

สภาพคล่องของสินทรัพย์แต่ละประเภทไม่เหมือนกัน ปัจจัยนี้ต้องอาศัยระยะเวลาเป็นตัวตัดสินใจการเลือกลงทุน หากต้องการสภาพคล่องสูง แต่สินทรัพย์ที่ลงทุน ต้องลงทุนในระยะยาวจึงจะมีกำไรคุ้มทุน ก็จะเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่อการขาดทุนได้เช่นกัน ก่อนการลงทุนจึงต้องพิจารณาสภาพคล่องของสินทรัพย์ให้ดี

  1. สถานการณ์ที่ไม่แน่นอน

สถานการณ์ต่าง ๆ ที่ไม่แน่นอน เช่น ความเปลี่ยนแปลงทางการเมือง สงคราม ภาวะโรคระบาดครั้งใหญ่ เป็นสิ่งที่ทำให้สินทรัพย์ต่าง ๆ มีความเปลี่ยนแปลงได้แบบไม่ทันตั้งตัว การลงทุนจึงจำเป็นต้องพิจารณาในระยะยาว โดยต้องวางแผนเพื่อรองรับสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนเหล่านี้ด้วย

ลงทุนความเสี่ยงต่ำ 2566

ตัวอย่างการลงทุนที่มีความเสี่ยงแตกต่างกัน เมื่อมองผ่านกองทุนรวม

กองทุนรวม ยังคงเป็นรูปแบบลงทุนความเสี่ยงต่ำ 2566 ที่ได้รับความนิยม และมีความเสี่ยงต่ำกว่าการลงทุนรูปแบบอื่น ๆ เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นลงทุน หรือหากเป็นนักลงทุนที่มีประสบการณ์แล้ว การมีกองทุนรวมความเสี่ยงต่ำไว้ในพอร์ต ก็จะช่วยกระจายความเสี่ยงได้ และแต่ละประเภทของกองทุนรวมเองก็มีความเสี่ยงในระดับที่แตกต่างกันได้มากถึง 8 ระดับด้วยกัน ตัวอย่างกองทุนรวมต่อไปนี้จะช่วยให้เห็นภาพมากขึ้นว่า การลงทุนความเสี่ยงต่ำและการลงทุนความเสี่ยงสูงต่างกันอย่างไร และคุณควรพิจารณาเลือกลงทุนกับความเสี่ยงระดับใด

ลงทุนความเสี่ยงต่ำ 2566 ในกองทุนที่มีความเสี่ยงปานกลางค่อนข้างตํ่า

  • กองทุนเปิดกรุงศรีสมาร์ทตราสารหนี้-สะสมมูลค่า (KFSMART-A)
  • กองทุนเปิดกรุงศรีตราสารเพิ่มทรัพย์-สะสมมูลค่า (KFSPLUS-A)

ทั้ง 2 กองทุนนี้เป็นการลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้น จึงมีโอกาสขาดทุนจากการผิดนัดชำระหนี้น้อย มีความเสี่ยงปานกลางค่อนข้างต่ำ อยู่ที่ระดับ 4 นโยบายการลงทุนไม่ซับซ้อน มีสภาพคล่องในการซื้อขายสูง ไม่มีนโยบายจ่ายเงินปันผล ซึ่งเป็นการลงทุนเพื่อสะสมมูลค่า แม้จะมีการลงทุนในต่างประเทศ แต่ก็มีการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนไว้สูง คือ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของมูลค่าเงินที่ได้นำไปลงทุนในต่างประเทศ

ลงทุนความเสี่ยงสูง 2566 ในกองทุนที่มีความเสี่ยงสูง

  • กองทุนเปิดกรุงศรียูเอสอิควิตี้อินเด็กซ์เฮดจ์เอฟเอ็กซ์-สะสมมูลค่า (KFUSINDX-A)
  • กองทุนเปิดกรุงศรีเอเชียนอิควิตี้เฮดจ์เอฟเอ็กซ์-สะสมมูลค่า (KFHASIA-A)

ทั้ง 2 กองทุนนี้เป็นกองทุนที่ลงในในตราสารทุน และเป็นการลงทุนในต่างประเทศด้วย ซึ่งมีสัดส่วนที่สูงถึง 80% ของ NAV ทำให้ถูกจัดระดับความเสี่ยงไว้ที่ระดับ 6 คือมีความเสี่ยงสูง ทำให้แม้จะเป็นกองทุนรวมที่ลงทุนไม่ยาก แต่ก็เหมาะกับนักลงทุนที่มีประสบการณ์ในการลงทุนมาพอสมควร และยังมีความจำเป็นที่จะต้องติดตามข่าวสาร ทั้งในประเทศและต่างประเทศร่วมด้วย เพื่อให้สามารถบริหารจัดการพอร์ตได้เท่าทันสถานกาณ์ ทั้งนี้ทั้ง 2 กองทุนก็มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนไว้ที่ร้อยละ 90% ของมูลค่าการลงทุนในต่างประเทศอยู่ด้วย

ถึงแม้ว่าการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงจะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าการลงทุนความเสี่ยงต่ำ 2566 แต่ก็ต้องแลกมาด้วยความเสี่ยงที่จะสูญเสียเงินต้นไปด้วย ดังนั้นหากนักลงทุนยังไม่มีความชำนาญด้านการลงทุน การลงทุนในรูปแบบที่มีความเสี่ยงต่ำในระดับไม่เกิน 4 จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของผู้ที่มีเงินออมเผื่อฉุกเฉินแล้วในระดับหนึ่ง และต้องการลงทุนโดยที่ยังไม่ต้องใช้เงินต้นมากนัก จึงสรุปได้ว่า การจะเลือกลงทุนที่มีความเสี่ยงระดับใด ขึ้นอยู่กับการพิจารณาเป้าหมายและความสามารถในการรับความเสี่ยงของผู้ลงทุนนั่นเอง